ล่าสุด

ประวัติความเป็นมาของ Superbike มอเตอร์ไซค์คันใหญ่ ภาค 2

ประวัติความเป็นมาของ Superbike มอเตอร์ไซค์คันใหญ่ ภาค 2

ทิ้งระยะห่างมาครบ 1 ปีพอดีเลยนะครับกับเรื่องราวความเป็นมาของ Superbike ของโลก ด้วยมีแฟนๆที่ติดตามเว็บ mocyclover สองสามรายถามแอดมินมาหลายรอบแล้วว่าเมื่อไหร่จะเขียนให้จบซะที คราวนี้ก็ถึงเวลาเล่าให้ฟังกันต่อแล้วนะครับ

ท่านที่ต่องการอ่านอ่านประวัติความเป็นมาของ Superbike ภาคแรกเชิญติดตามอ่านได้ที่นี่นะครับ ประวัติความเป็นมาของ superbike

ความเติม

ในช่วงปี 1988 ทาง Honda ได้เปิดตัวมอเตอร์ไซค์รุ่น RC30 ออกมาถัดจาก CB750 อันโด่งดังและถือเป็นก้าวกระโดดของวงการ superbike อีกครั้ง แต่ค่ายนี้ยังไม่หยุดเพียงแค่นี้ ยังมีสิ่งที่จะสร้างความประหลาดใจให้กับวงการนักบิดตามมาในอีก 4 ปีถัดมา นั่นก็คือมอเตอร์ไซค์ที่ชื่อว่า FireBlade นั่นเอง

kawasaki-zzr-1100

1990: Kawasaki ZZ-R1100

มอเตอร์ไซค์ ZZ-R1100 ถือเป็นมอเตอร์ไซค์ที่นับว่าเร็วที่สุดที่มาจากสายการผลิตปกติ ในขณะที่มอเตอร์ไซค์ superbike ก่อนหน้านี้อย่าง RC30 และ GSX-R750 นั้นได้เน้นไปในแง่ของการขับขี่แทนที่จะเป็นเรื่องแรงม้า แต่ทาง Kawasaki นั้นกลับมุ่งหน้าไปสู่คำที่ว่า ยิ่งมากยิ่งดี ซึ่งก็ได้พิสูจน์ให้เห็นบ้างแล้วสำหรับรุ่น Z ก่อนหน้านี้

มอเตอร์ไซค์ ZZ-R คันนี้เปิดตัวเมื่อปี 1990 โดยมีเครื่องยนต์ขนาด 1052cc สามารถทำความเร็วได้ถึง 288 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นความเร็วที่สุดยอดแล้วในยุคนั้น และยังเป็นความเร็วที่น่านับถืออยู่ในยุคนี้ด้วย แต่นักบิดหลายคนก็บ่นออกมาดังๆว่าไม่อาจจะขับรถที่พลังสูงขนาดนี้ได้

แต่ว่ากันตามจริงแล้วสำหรับนักบิดที่ช่ำชองนั้น ZZ-R คันนี้ที่ให้แรงม้าออกมาที่ 147 bhp ที่ความเร็วรอบ 11,000 รอบต่อนาที นั้นขับได้นิ่มนวลและง่ายที่จะขับวนไปในเมืองเหมือนๆกับการขับขี่ด้วยความเร็วสูงในสนามแข่ง ยกเว้นอย่างเดียวก็แค่เรื่องน้ำหนักแค่นั้นเอง เมื่อมีการแข่งขันกันลดน้ำหนักมอเตอร์ไซค์ลง คาวาคันนี้ที่ 233 กิโลกรัมนั้นอาจจะมองเป็นแนว sport t tourer มากกว่าที่เป็น superbike

อาจจะพูดได้ว่าทาง Kawasaki เองนั้นเป็นคนเริ่มสงครามแรงม้าด้วยตัว Z1 เมื่อปี 1973 และได้ออกแบบ ZZ-R มาโดยเฉพาะเพื่อเอาชนะคู่แข่งแบบทิ้งห่างสุดๆ ซึ่งก็นับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มอเตอร์ไซค์คันนี้เอาพื้นฐานมาจาก ZX-10 และตั้งเป้าว่าจะเป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากรุ่นนั้น แต่สุดท้ายแล้วกลับกลายเป็นมอเตอร์ไซค์ที่โดดเด่นในตัวเอง วิศวกรของ Kawasaki สามารถที่จะรีดพลังออกมาจากเครื่องยนต์ได้มากเนื่องจากเป็นเครื่องยนต์ที่ได้รับการพัฒนาย้อนไปถึงปี 1984 ของรุ่น 900 Ninja ทำให้พวกเขารู้จักทุกซอกทุกมุมของเครื่องยนต์เป็นอย่างดี

อีกความภูมิใจนึงของมอเตอร์ไซค์คันนี้ก็คือ ZZ-R นั้นถือเป็นมอเตอร์ไซค์จากสายการผลิตคันแรกที่มีระบบ ram air induction system ซึ่งเริ่มนำมาใช้ในปี 1993 มอเตอร์ไซค์คันอื่นๆจะมีช่องที่จะนำอากาศเย็นเข้าสู่เครื่องยนต์ แต่ของคาวาคันนี้เป็นระบบปิด อากาศจะเข้ามาทางเครื่องยนต์ได้ผ่านทางสองรูที่กำหนดไว้เท่านั้น ในขณะที่รุ่นเก่าๆจะมีเพียงรูเดียว

สิ่งสำคัญอีกอันนึงของความก้าวหน้าของมอเตอร์ไวค์ ZZR ก็คือระบบอากาศพลศาสตร์ที่มอเตอร์ไซค์คันนี้มีความเพรียวลมที่มอเตอร์ไซค์คันอื่นๆอาจจะมองว่าไม่สำคัญสำหรับกรณีที่เป็น road bike แต่ความเร็วไม่ใชประเด็นสำคัญที่สุดของมอเตอร์ไซค์คันนี้ ตัวถังอันเดียวกันนี้สามารถปกป้องคนขับได้เป็นอย่างดี ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายและความเงียบ แถมยังทำความเร็วได้เกือบถึง 300 กม/ชม ถือเป็นการพัฒนาไปอีกขั้น

จะว่าไปแล้ว ZZ-R อาจจะไม่ถึงเป็นการปฏิวัติวงการมอเตอร์ไซค์ มันเป็นเพียงแค่เทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่ได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อนด้วยน้ำ DOHC 16 วาล์ว สี่สูบเรียง ผสมผสานกับระบบอากาศพลศาสตร์ทำให้มันวิ่งได้เร็วมาก

จนกระทั่งเมื่อ Honda เปิดตัวรุ่น CBR1100XX Super Blackbird ในปี 1997 นั่นแหละครับที่เจ้า ZZ-R จึงได้เสียความเป็นเจ้าแห่งความเร็วไป และต่อมา Blackbird เสียความเป็นเจ้าความเร็วให้กับ Suzuki Hayabusa ไป

แต่การครองตำแหน่งเจ้าแห่งความเร็วอยู่ 7 ปีนั้นถือว่าเป็นส่ิ่งที่สุดแล้วในยุคนั้น และจากการที่บรรดาผู้ผลิตต่างตกลงที่จะจำกัดความเร็วสูงสุดของมอเตอร์ไซค์ไว้ที่ 300 กม/ชม นั้น ทำให้สงความเรื่ิองความแรงและความเร็วที่ Kawasaki เป็นผู้เริ่มมีอันต้องจบไป

Honda-Fireblade

1992: Honda CBR900RR FireBlade

ตอนที่ทาง Honda เปิดตัวมอเตอร์ไซค์ CBR900RR FireBlade ในปี 1992 ก็สร้างความตะลึงงั้นไปทั่ววงการมอเตอร์ไซค์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

จนกระทั่งถึงทุกวันนี้เองก็ตาม ก็ไม่เคยมีปรากฏการณ์ก้าวกระโดดระหว่างเทคโนโลยี superbike กับมอเตอร์ไซค์คันใหม่ และเราคงจะไม่ได้เห็นปรากฏการณ์ในลักษณะนี้อีกแล้วเนื่องจากข้อกำหนดกฏหมายต่างๆที่ทยอยออกมาบังคับควบคุมประเด็นต่างๆของมอเตอร์ไซค์

จะว่าไปแล้วมอเตอร์ไซค์ Fireblade คันนี้ไม่ถึงกับมีอะไรน่าตื่นตาตื่นใจนักหากมองลงไปที่แต่ละชิ้นส่วนของมัน เพราะมันก็มาพร้อมกับเครื่องยนต์แบบสี่สูบเรียงที่ติดตั้งอยู่ในเฟรมอลูมิเนียมอัลลอยด์ที่ก็ไม่ถึงกับว่าเป็นเรื่องใหม่แต่ประการใด แต่จริงๆแล้วสิ่งที่สร้างความฮือฮาก็คือภาพรวมทั้งหมดของมอเตอร์ไซค์คันนี้ที่ไม่เพียงจะทำให้คู่แข่งถึงกับหงายหลัง แต่ยังทำให้คนขับขี่ต้องถึงกับตะลึงพรึงเพริดไปด้วย

เราลองมาดูกันนะครับว่าทำไมคนถึงตะลึงกับมอเตอร์ไซค์คันนี้นัก เริ่มจากเราลองพิจารณาดูในเวลานั้นพบว่ามอเตอร์ไซค์ที่มันต้องออกมาเทียบรัศมีก็คงเป็นมอเตอร์ไซค์ตัวเทอะทะอย่าง Yamaha FZR1000 EXUP Suzuki GSX-R1100 และ Kawasaki ZZ-R1100 ทุกตัวต่างก็วิ่งเร็วสุดๆในทางตรง แต่พอเข้าโค้งแล้วละก็จะเริ่มยวบๆและทรงตัวได้ไม่ดี ถ้าลองเอาทั้งหมดมาแข่งกันก็จะพบว่า FireBlade คันนี้จะเข้าโค้งได้ดีมากๆ และกลายเป็นมอเตอร์ไซค์คันเดียวในโลกที่แฟนๆนักแข่งต่างต้องถามหา

ในเรื่องเบื้องหลังของมอเตอร์ไซค์คันนี้ ฝ่ายการตลาดของ Honda ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะมีความต้องการในตลาดสำหรับมอเตอร์ไซค์แนว racing แต่ด้วยความมุ่งมั่นและมองการณ์ไกลของหัวหน้าทีม Tadao Baba ที่เป็นคนสร้างความเป็นจริงนี้ขึ้นมา

Baba นั้นมีเป้าหมายอย่างยิ่งยวดที่จะลดน้ำหนักรถลงให้มากๆ สำหรับเขาแล้วมันคือกุญแจสำคัญที่สุด ยิ่งน้ำหนักน้อยก็จะยิ่งดี เป้าหมายของเขาคือการสร้าง superbike ที่นำหนักควรจะน้อยกว่ารถที่มีเครื่อง 600 ด้วยซ้ำ ดังนั้นอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นจึงไม่มีการใส่ให้กับมอเตอร์ไซค์คันนี้

ในช่วงหนึ่งของการสร้างมอเตอร์ไซค์คันนี้ดูเหมือนว่าจะมีการใช้เครื่องยนต์ขนาด 750cc ซึ่งก็ดำเนินไปจนถึงขึ้นเอารถมาทดสอบแล้ว สุดท้ายก็ต้องเลิกใช้เครื่องยนต์ขนาดนี้ไป และแม้ว่าต่อมาทางบริษัทก็ได้ออกมาปฏิเสธด้วยซ้ำว่าไม่เคยมีการทดสอบอะไรใดๆ แต่การที่ Honda มีทั้งรุ่น 750cc และ 1000cc ทำให้มีการสร้างกลุ่มใหม่ขึ้นมาซึ่งก็เฉพาะเจาะจงให้กับรุ่น Blade นั่นเอง

Baba ตัดสินใจใช้เครื่องยนต์ 900 ด้วยเหตุผลอีกประเด็นนึงด้วย นั่นก็คือได้ค้นพบว่ามิติของตัวถังและท่านั่งขับระหว่างการทดสอบนั้น เขาพบว่ายังมีพื้นที่เหลือเฟือที่จะใส่เครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า 750cc ซึ่งเขาก็ทำมันสำเร็จด้วยดี

การที่จะทำความเร็วให้ได้ถึง 258 กม/ชม นั้นเขาคำนวนว่าขนาดกระบอกสูบควรจะอยู่ที่ 893cc และด้วยตัวถังที่เขามีอยู่มันก็เหมาะสมพอดี แต่ด้วยขนาดเครื่องยนต์ที่ไม่เหมือนชาวบ้านทำให้ยากที่จะเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสนามแข่ง แต่เมื่อมันได้มีโอกาสได้ลงแข่งในปี 1996 Ulsterman Phillip MaCallen ก็ชนะการแข่งขันและในปีถัดมาก็ชนะอีกด้วย

สิ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติวงการไม่ใช่เรื่องเอาชนะในสนามแข่ง แต่ก็เป็นเพราะน้ำหนักมอเตอร์ไซค์ที่เบาเพียง 185 กิโลกรัม และการขับขี่ที่ทำได้อย่างแม่นยำนั่นเอง ล้อหน้าเป็นขนาด 16 นิ้วแทนที่จะเป็นขนาด 17 นิ้วที่พบเห็นโดยทั่วไป ทำให้มอเตอร์ไซค์คันนี้เลี้ยวได้เร็วกว่าคันไหนๆที่ผ่านมา และด้วยมุมหัวเลี้ยวที่ชันและระยะระหว่างล้อที่สั้นทำให้ Blade ถือเป็นที่หนึ่งในยุคนั้น

แม้ว่าหลังงานเปิดตัวที่สนามแข่ง Phillip Island ที่ Australia ในปี 1992 คนจาก Honda เองก็ยังไม่ถึงกับมั่นใจในยอดขายของมอเตอร์ไซค์คันนี้นัก แต่ผลสุดท้ายกลับกลายเป็นว่ามียอดขายกว่า 20,000 คันในอังกฤษ และครองตำแหน่งเจ้าแห่ง superbike อยู่นานถึงหกปี ก่อนที่จะมี Yamaha R1 โผล่ออกมาในปี 1998

จะว่าไปแล้วแม้ถึงตอนนี้ Honda FireBlade ก็ยังขายดี และไม่มีวี่แววว่าจะหายไปจากสายการผลิตแต่อย่างใด

Ducati-916

1994: Ducati 916 Strada

ผ่านมาสองปีอาจจะถือว่าเร็วเกินไปสำหรับการที่จะมีมอเตอร์ไซค์คันใหม่มาสู่ตลาดหลังจาก Honda เปิดตัว FireBlade ได้ไม่นาน แต่จะว่าไปแล้วมอไซค์อิตาลี่คันนี้ก็คงไม่มัวรอเวลาอะไรอยู่ จึงมาพร้อมกับมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบสไตล์อิตาเลี่ยนอย่าง 916 Strada คันนี้

ด้วยรูปทรงโฉบเฉี่ยวสะดุดตา ทำให้มอเตอร์ไซค์คันอื่นๆดูน่าเกลียดไปเลย มอเตอร์ไซค์คันนี้ถือเป็นศิลปชั้นยอด แม้ว่าหากตัวจริงมันจะวิ่งไปไม่ออกแต่ก็ถือว่ามอเตอร์ไซค์คันนี้คงมีชื่อเสียงโด่งดังในแง่ของความสวยงาม แต่เมื่อได้มีการเปิดตัวในอังกฤษเมื่อปี 1993 กลับกลายเป็นว่าเป็นมอเตอร์ไซค์ที่วิ่งฉิวเสียนี่

แม้ว่าเครื่องยนต์ 916cc ตัวนี้จะเป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ DOHC 8 วาล์ว V-Twin 90 องศา เหมือนกับที่ใช้กับรุ่น 851 และ 888 แต่ทว่าโดยรวมแล้วถือว่ายอดเยี่ยมทั้งในแง่หน้าตาและประสิทธิภาพของมัน ระบบหัวฉีดอิเลคทรอนิคส์นั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ การควบคุมรถเป็นไปได้อย่างมั่นใจ ขนาดตัวที่เล็กน้ำหนักเบาของมอเตอร์ไซค์คันนี้ทำให้เหมือนขับรถขนาด 250cc เลยก็ว่าได้

มาดูเฉพาะหน้าตาที่มีท่อคู่ซ่อนอยู่ใต้เบาะ สวิงอาร์มด้านเดียวสำหรับการเปลี่ยนล้อหลังที่เร็วขึ้นหากลงแข่งวิบาก สีแดงสด และเส้นสายที่โค้งมน ใครหลายๆคนเห็นแล้วเป็นต้องหลงไหลกับ Ducati 916 คันนี้แน่

ในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆอย่าง กระจกมองหลังอันเล็กๆ ระบบสวิทส์ไฟต่างๆและแผงหน้าปัทว์ บ่งบอกถึงความเป็น race bike จึงจินตนาการได้ไม่ยากว่าบรรดาคนงานของ Ducati คงจะเซ็งน่าดูกับการที่จะต้องมาใส่กระจกมองหลังกับที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนเพื่อให้วิ่งบนถนนได้กับรถที่ออกแบบมาอย่างลงตัวแล้ว

และด้วยความเป็น race bike ของ 916 คันนี้ที่สร้างมาสำหรับลงแข่ง WSB โดยเฉพาะสำหรับเครื่องยนต์แบบสองสูบทำให้มันชนะตั้งแต่ลงแข่งครั้งแรกโดยนักบิดที่ชื่อ Carl Fogarty และนับแต่นั้นมาก็ได้ครองรางวัลถึงสี่ครั้ง และคิดว่าทาง Ducati เองคงจะจำไม่ได้หรอกว่าถ้านับสนามแข่งทั่วโลกแล้วมันจะชนะไปกี่ครั้ง

มอเตอร์ไซค์คันนี้ถูกออกแบบโดย Massimo Tamburiri โดยเขามีทีมนักศีกษาจบใหม่รวมทั้ง Pierre Terblanche ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ Ducati Supermono คันเด่นอีกด้วย โดย Tamburini เน้นว่าเขาต้องการสร้างมอเตอร์ไซค์ที่ใครๆเห็นก็จะต้องจำมันได้ทั้งหน้าตาและประสิทธิภาพ ผมก็คิดว่าเขาทำได้สำเร็จไปแล้ว

มอเตอร์ไซค์ 916 คันนี้ได้รับรางวัลหลากหลายเท่าที่มอเตอร์ไซค์คันนึงควรจะได้รับทั้งจากสื่อมวลชนและจากแวดวงอุตสาหกรรมมอเตอร์ไซค์ ในแง่ประสิทธิภาพแล้ว Ducati ฉลาดกว่าที่คิดมาก มอเตอร์ไซค์คันนี้ไม่ได้อวดอ้างว่าแรงม้าสูงสุด (114 bhp @ 9000 rpm) หรือจะบอกว่าเบาสุด (198 kg) แต่มันจะมาพร้อมกับเบรกและล้อของ Brembo กับกันสะเทือนของ Showa เลยทำให้มันสามารถวิ่งได้เร็วกว่ามอเตอร์ไซค์คันอื่นๆที่มีแรงม้าสูงกกว่ามัน

Yamaha-YZF1000-R1

1998: Yamaha YZF1000 R1

มันใช้ระยะเวลานานเหมือนกันกว่าที่จะมีใครมาทาบรัศมี Superbike อย่าง Honda FireBlade ได้ และมันต้องเป็นมอเตอร์ไซค์ที่พิเศษสุดจริงๆเท่านั้น

มอเตอร์ไซค์ 916 ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ได้คะแนนนำในความสวยงาม ไม่ใช่ในแง่ประสิทธิภาพที่จะมาเอาชนะเจ้า FireBlade ไปได้ จะมีแต่ก็ Yamaha YZF1000 R1 เท่านั้นแหละที่พอจะแข่งขันกันได้

ในขณะที่ Blade นั้นมีแรงม้าอยู่ที่ 122 bhp แต่เจ้า R1 นั้นอยู่ที่ 150 ขณะที่ Blade หนัก 185 กก แต่ R1 กลับหนักเพียง 177 กก ขณะที่ความเร็วสูงสุดของ Blade อยู่ที่ 264 กม/ชม แต่ความเร็วสูงสุดของ Yamaha นั้นอยู่ที่ 280 กม/ชม ไม่ว่า Blade ทำอะได้ R1 จะทำได้ดีกว่าเสมอ

็Honda เป็นผู้นำในแวดวง sport bike มานานเกินไปจนทำให้ทาง Yamaha ออกแบบ R1 มาเพื่อชนกันตรงๆ และก็ทำสำเร็จอีกด้วย R1 สามารถทำลายสถิติทุกอย่างในมอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้

มอเตอร์ไซค์คันนี้นั้นถือว่ามีหุ่นที่เล็กกว่ามอไซค์ขนาด 600cc ที่มีอยู่ในท้องตลาดในตอนนั้น เครื่องยนต์ขนาด 998cc 20 วาล์ว DOHC สี่สูบเรียง ระบายความร้อนด้วยน้ำคันนี้ ให้แรงบิดที่มหาศาลที่รอบต่ำจนแทบจะลืมเปลี่ยนเกียร์ไปได้เลย

ราคามอเตอร์ไซค์คันนี้ในตอนนั้นก็ถือว่าไม่แพงมาก และมอเตอร์ไซค์ R1 คันนี้ก็ได้แสดงศักยภาพให้เห็นทั้งในสนามแข่งและตามท้องถนนทั่วไป ในการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ Superbike นั้นกฏมีอยู่ว่าห้ามเครื่องยนต์สี่สูบใหญ่กว่า 750cc ลงแข่ง ดังนั้น R1 และ Blade ก็เลยลงแข่งไม่ได้ แต่ชัยชนะอันยิ่งใหญ่มาจากการแข่ง Formula 1 TT ในปี 1999 ที่ David Jefferies สามารถบิด R1 เข้าเส้นชัยเฉือนเอาชนะ Honda RC45 มอไซค์มูลค่า 25 ล้านบาทได้ จึงเป็นวันที่ Street bike เริ่มเอาชนะ racer ได้แล้ว

แต่ในแง่ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแล้ว R1 ไม่ถึงกับเป็นการก้าวกระโดดเหมือนตอนที่ Blade ได้เคยเอาชนะคู่แข่งเมื่อตอนเปิดตัวใหม่ๆเมื่อปี 1992 ไม่ใช่จะบอกว่าทาง Yamaha ไม่มีความสามารถขนาดนั้น แต่เหมือนว่าเป็นธรรมเนียมของผู้ผลิตญี่ปุ่นที่มักจะปล่อยของที่แค่เอาชนะคู่แข่งเท่านั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทาง Yamaha และ Honda นั้นมีเทคโนโลยีที่จะสามารถก้าวกระโดดในวงการได้ถ้าพวกเขาต้องการ เพียงแต่เขาไม่ทำ

มอเตอร์ไซค์ R1 นั้นอยู่ในตำแหน่งสุดยอด superbike อยู่ราวๆ 3 ปี แม้ทาง Honda จะเปิดตัว FireBlade รุ่นปี 2000 ออกมาก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าจะนานก่อนที่จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆออกมาเอาชนะมันได้ คราวนี้ก็มาในรูปของสีฟ้าขาว

Suzuki-GSX-R1000

2001: Suzuki GSX-R1000

มอเตอร์ไซค์ Suzuki GSX-R1000 ถือเป็นมอเตอร์ไซค์จากสายการผลิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ superbike ในแง่ของประสิทธิภาพและการขับขี่ อย่างน้อยก็ในตอนนั้นละครับ แต่ที่ไม่เหมือนกับ superbike คันก่อนหน้านี้ก็คือ GSX-R ไม่ถึงกับมีอะไรใหม่ๆมากมายที่จะทำให้มันเป็นสุดยอดมอเตอร์ไซค์ได้ เป็นก็เพียงแค่การเอาเทคโนโลยีต่างๆที่มีอยู่ มาปรับแต่ง แล้วก็ทำให้มันวิ่งได้เร็วขึ้น แรงม้ามากขึ้น การปรับปรุงระบบกันสะเทือนนั้นช่วยได้มาก รวมถึงระบบหัวฉีดแบบดิจิตอลก็ช่วยได้เยอะ

ตัวเลขที่ออกมาจึงถือว่าน่าประทับใจมาก น้ำหนักรถเพียง 170 กิโลกรัม แรงม้าอยู่ที่ 160 bhp และความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 288 กม/ชม หมายถึงว่ามันสามารถเอาชนะ R1 ในทุกแง่มุมและกลายเป็นเจ้าแห่ง superbike ในตอนนั้น แต่ความแตกต่างอาจจะไม่มากแล้ว เพราะน้ำหนักลงไปเพียง 15 กิโลกรัม แรงม้าเพิ่มขึ้นเพียง 10 แรงม้า และความเร็วเพิ่มขึ้นอีกเพียง 8 กม/ชม ไม่แน่ว่า Yamaha อาจจะมี R1 ตัวใหม่รออยู่ในโรงงานที่มีตัวเลขต่างๆ ดีกว่านี้ และเมื่อการพัฒนามอเตอร์ไซค์ Superbike เหมือนจะถึงจุดอิ่มตัว หลายๆคนก็หันไปเล่นมอเตอร์ไซค์แนวย้อนยุคทั้ง Classic, Retro ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆกัน

GSX-R อาจจะเป็นสุดยอดของมอเตอร์ไซค์ Superbike แต่คุณจะเอามันไปขี่เล่นที่ไหน สนามแข่งอาจจะเป็นเพียงคำตอบเดียว แล้วหากเรายังคงเห็นการเติบโตของ superbike ไปเรื่อยๆ เราคงจะเห็นมันในแนวอื่นมากกว่า

หากเราย้อนกลับไปเทียบ GSX-R กับ CB750 ที่เป็น superbike คันแรกแล้วละก็ เราก็จะได้เห็นว่า GSX-R 160 แรงม้านั้นมากกว่า CB750 อยู่ 93 แรงม้า พร้อมกับน้ำหนักที่ลดลงไป 50 กิโลกรัม และวิ่งได้เร็วเดิม 96 กม/ชม

ทั้งหมดใช้เวลา 30 ปีในการพัฒนาเพื่อให้ได้ตัวเลขที่เราเห็นตอนนี้ และหากเรายังคิดว่ามันจะเป็นแนวโน้มเดิม ในปี 2030 เราคงจะได้เห็นมอเตอร์ไซค์ขนาด 250 แรงม้า หนัก 120 กิโลกรัม และความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 384 กม/ชม ดูเหมือนจะโหดสุดๆใช่ไหมครับ

แต่ในความเป็นจริงก็คงเป็นเรื่องของข้อกฏหมายต่างๆที่ทำให้ทางโรงงานผู้ผลิตต้องจำกัดความเร็วสูงสุดเอาไว้ ซึ่งก็จะเป็นผลให้ทาง Honda Yamaha Suzuki ต้องไปมองหาหนทางอื่นในการที่จะพัฒนามอเตอร์ไซค์ของตัวเองให้ล้ำหน้าคู่แข่ง นั่นจะหมายถึงเส้นทางใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นมา เหมือนที่ทาง Honda เคยทำเมื่อปี 1969 กับการสร้างมอเตอร์ไซค์ Superbike ขึ้นมา ก็รอดูกันนะครับว่าจะมีอะไรมาให้เราได้เห็นกันในอนาคตอันใกล้นี้

เรียบเรียงจาก visordown.com

ads2

Advertisment

13,632 views