เปิดร้านซ่อมบิ๊กไบค์ อีกอาชีพหนึ่งที่กำลังมาแรง
รับซ่อม Bigbike อีกอาชึพหนึ่งที่กำลังมาแรง
ทุกอาชีพจะทำได้ก็ต้องมีความรู้ความเข้าในลักษณะงานนั้นๆ แต่อาชีพบางอย่างต้องใช้ความสามารถเฉพาะอย่างทำให้เกิดความต้องการคนที่เข้าใจและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น แน่นอนว่าความเชี่ยวชาญก็จะมาจากการเรียนรู้ฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์มาในระยะเวลานานๆ อาชีพหนึ่งที่น่าสนใจคือการ รับซ่อมมอเตอร์ไซค์ โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์แนว Bigbike ซึ่งกำลังเป็นสิ่งที่ตลาดต้องการเพราะคนไทยหันมาเล่นมอไซค์แบบนี้กันมากขึ้น คนทำยังมีน้อยจึงเป็นโอกาสให้ผู้มีใจรักได้เรียนรู้และมีอาชีพที่มั่นคงได้ ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพรชบุรีระบุว่าได้เปิดอบรมด้านนี้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทาง mocyclover เลยจะขอนำข้อมูลมาเสนอให้ทราบกันนะครับ
อาจารย์หมูหรือ พนม อินทร์ภู่มะดัน บอกถึงความแตกต่างระหว่างมอเตอร์ไซค์ทั่วไปกับ Bigbike ว่า บิ๊กไบค์หมายถึงมอเตอร์ไซค์ที่มีขนาดความจุตั้งแต่ 250 cc ขึ้นไป และยังมีเครื่องยนต์แบบ 1 สูบ 2 สูบ 3สูบ 4สูบ และ 6สูบ การดูแลรักษาซ่อมบำรุงจึงมีความแตกต่างจากมอเตอร์ไซค์ทั่วไปมาก เพราะมีรายละเอียดมากกว่าที่ต้องดูแล และร้านบริการรับซ่อมและช่างฝีมือที่ทำงานด้านนี้นั้นยังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับการเติบโตของตลาดในช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงทำให้ทางอาจารย์ได้คิดที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ที่มอยู่เปิดเป็นหลักสูตร การซ่อมบิ๊กไบค์ ขึ้น เพื่อให้ผู้สนใจมาเรียนรู้และนำไปประกอบอาชีพได โดยมีการเปิดสอนหลักสูตรทั้งหมดจำนวน 4 หลักสูตรคือ การซ่อมบำรุงรักษาเบื้องต้น การซ่อมเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า ระบบรองรับน้ำหนัก-ระบบขับเคลื่อน ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เป็นอาชีดหรือเอาความรู้ไปเปิดร้านรับซ่อมได้เลย
สำหรับทุนเบื้องต้นอาจารย์พนม กล่าวว่า หากมีสถานที่อยู่แล้วก็จะลงทุนเบื้องต้นประมาณ 40,000 บาท ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการตกแต่งสถานที่นะครับ เพราะการเริ่มต้นเปิดร้านบางทีห้องโล่งๆ กับชั้นวางของนิดหน่อยก็พอแล้ว เงินลงทุนดังกล่าวเป็นเป็นค่าเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการเปิดร้าน ส่วนทุนหมุนเวียนจะขึ้นอยู่กับค่าอะไหล่ที่จะนำมาสต้อค ค่าแรงงาน และขึ้นกับปริมาณของการบริการเป็นส่วนใหญ่ รายได้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณงานเช่นกัน
สำหรับเครื่องมือกับอุปกรณ์หลักๆ ก็แบ่งเป็น เครื่องมือสำหรับช่างยนต์ทั่วๆไป และเครื่องมือพิเศษเฉพาะอย่าง อาทิ เครื่องวัดกำลังอัดลูกสูบแปวน เครื่องแวคคัมวัดลิ้นเร่ง อุปกรณ์ดูดน้ำมันเครื่อง เครื่องวัดมัลติมิเตอร์ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ อุปกรณ์ไมโครมิเตอร์เป็นต้น
อาจารย์พนมกล่าวว่า เครื่องมือเฉพาะนั้นใช้เงินลงทุนประมาณ 25,000 บาท ส่วนเครื่องมือช่างยนต์ทั่วๆไปก็อยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท รายได้หลักของอาชีพนี้ก็จะมาจากงานบริการเบื้องต้น เช่น การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง หัวเทียน ผ้าเบรก ยาง ส่วนรายได้อีกส่วนก็จะมาจากงานซ่อมหรือปรับแต่งรถ เช่นงานระบบไฟฟ้า และการปรับแต่งเครื่องยนต์เป็นต้น
การลงทุนครั้งแรกอาจจะดูเยอะเป็นเรื่องธรรมดาเพราะเปิดร้านแล้วก็ต้องสามารถบริการได้เลย แต่หากบางชิ้นส่วนมีอยู่แล้วก็ประหยัดเงินไปได้ การซื้อก็อาจจะซื้อเท่าที่จำเป็นก่อน แต่หากเรามีเครื่องมือครบครับจะทำให้ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้ามากขึ้นเพราะสามารถให้บริการที่หลากหลายได้
สำหรับเคล็ดลับในการให้บริการหรือเปิดร้านด้านนี้ ก็ควรจะศึกษาระบบของเครื่องยนต์ เทคนิคการซ่อม การใช้งานเครื่องมือพิเศษต่างๆ แนวโน้มตลาดว่าจะไปทางไหน และควรสำรวจหาแห่งอะไหล่อยู่เสมอ เพราะจะเป็นการสร้างระบบร้านที่ดีและทำให้การทำงานมีประสิทธืภาพสร้างผลกำไรได้อย่างมั่นคง
ส่วนใครสนใจอบรม การซ่อม bigbike เพื่อเป็นทางเลือกในการนำไปประกอบอาชีพก็สามารถติดต่อศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพรชบุรีได้ที่ 58 หมู่ 2 ต เขาใหญ่ อ ชะอำ จ เพรชบุรี โทร 032 470 3913 หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก panombigbike.blogspot.com ได้ครับ
ads2