2013 BMW HP4 รีวิว ทดสอบการขับขี่
Credit: bmwblog.com
รีวิวมอเตอร์ไซค์ทดสอบการขับขี่ 2013 BMW HP4
มอเตอร์ไซค์ BMW HP4 นั้นเป็นรุ่นที่มาจากรุ่นพื้นฐาน S 1000 RR โดยถือเป็นรถมอเตอร์ไซค์ประสิทธิภาพสูงคันหนึ่ง S1000RR เคยเป็นมอเตอร์ไซค์ Sportbike ของปี 2012 สำหรับนิตยสาร Motorcyclistonline มอเตอร์ไซค์ HP4 ถือเป็นมอเตอร์ไซค์ตัวที่ 4 ของรถประสิทธิภาพสูงของ BMW และถือเป็นมอเตอร์ไซค์สี่สูบตัวแรกที่พัฒนามาจากตัว S1000RR ที่เคยกวาดรางวัลมาแล้ว
ด้วยล้ออัลลอย ท่อไปเสียแบบ Akrapovic ไททาเนียม แบตเตอร์รี่และเฟืองขับที่เบากว่า และหลายชิ้นส่วนที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์เลยทำให้ HP4 ตัวนี้น้ำหนักเบากว่า S1000RR รุ่นมาตรฐานอยู่ถึง 15 ปอนด์ และถือเป็นมอเตอร์ไซค์ที่เบาที่สุดในสายการผลิตของ BWM ดังที่บริษัทกล่าวอ้าง
แต่ BMW HP4 นั้นไม่ใช่แค่การนำ S1000RR มาปรับโฉมแบบธรรมดาๆเท่านั้น ระบบอิเลคทรอนิคส์เพื่อช่วยเสริมการขับขี่ยังได้รับการปรับปรุงด้วยเช่นกัน ค่าตัวแปรของ ABS นั้นก็มีการปรับใหม่ให้ดุดันมากขึ้น พร้อมระบบ Dynamic Traction Control (DTC) ที่ยอมให้ปรับค่าได้ถึง 15 ระดับ แทนที่จะเป็นระบบค่าเดียวเหมือนปีที่แล้ว และยังมีระบบควบคุมการออกตัวรถใหม่สำหรับกรีการแข่งขน และระบบ Dynamic Damping Control (DDC) ซึ่งเป็นระบบแรกที่ปรับตัวมันเอง ระบบ เซมิ-แอคทีพ ที่จัดการค่าแดมพ์ปิ้งของกันสะเทือนระบบแรกที่นำมาติดตั้งกับมอเตอร์ไซค์
HP4 ใหม่ที่มีระบบ DDC นี้ทำให้ระบบกันสะเทือนนั้นทำงานได้ดีขึ้น ระบบ Race ABS ก็เพิ่มประสิทธิภาพในการเบรกได้ดี DTC ก็เพิ่มการยึดเกาะของล้อหลังได้ดีเยี่ยม โดยระบบ DDC นั้นพัฒนามาจากระบบ แดมพ์ปิ้งอิเลคทรอนิคส์ที่ BMW ใช้ในรถยนต์ระดับหรู ซึ่งถือเป็นระบบที่กว่าระบบ ESA ที่มีอยู่เดิม หรืออาจจะดีกว่า DES (Ducati Electronic Suspension) ของ Ohlins ที่ใช้ใน Ducati เสียอีก ระบบเหล่านี้ถือเป็นคุณสมบัติดันโดดเด่น ใช้งานง่าย ทำให้นักบิดสามารถปรับค่าต่างๆ ด้วยการกดปุ่มเท่านั้น ระบบ DDC นั้นสามารถปรับแต่งค่าได้แม้ขณะกำลังขับขี่รถเพื่อตอบสนองต่อสภาพถนนตรงหน้าที่อาจจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
BMW กล่าวว่านักบิดส่วนใหญ่เหมือนจะกลัวปุ่มกด พวกเขาจะไม่ค่อยชอบเปลี่ยนค่าต่างๆแม้แต่เรื่องง่ายๆอย่างค่าตัวแปรกันสะเือน DDC เลยเป็นระบบที่ปรับเปลี่ยนค่าให้อัตโนมัติ เลยทำให้คุณสมบัติในเรื่องกันสะเทือนนั้นอยู่ในจุดที่ดีกว่า ด้วยเพราะความเป็นอัตโนมัตินั่นเอง เพราะการตั้งค่าแบบธรรมดานั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพถนนทั่วไป เพราะบางทีเราปรับค่าสำหรับหลุมบ่อขนาดใหญ่เมื่อเจอกรวดทรายเม็ดเล็กลงก็เลยอาจจะตอบสนองได้ไม่ดีเท่าที่ควร ระบบ DDC เลยแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยวาล์วแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในตะเกียบหน้าและโช้คที่พร้อมจะเปิดหรือปิดในระยะเวลาเพียว 10 มิลลิวินาที หรือ 1 ใน 100 ส่วนของวินาที การแดมพ์ปิ้งก็เลยเหมือนจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อตอบสนองต่อการกระแทกไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่
สัญญาณจากคันบิดและการเคลื่อนที่ของสปริงที่โช้คหลังจะเป็นตัวบอก DDC ว่ามอเตอร์ไซค์กำลังถูกเร่งหรือชลอลง ขณะเดียวกันข้อมูลการเอียงตัวของมอเตอร์ไซค์จากระบบ DTC จะเป็นตัวบอกว่ามอเตอร์ไซค์กำลังเข้าโค้ง หรือออกจากโค้ง ตัวอย่างเช่นการเข้าโค้ง คันเร่งปิดตัวและสปริงหลังยืดตัวแสดงว่ากำลังมีการชลอรถ เป็นการส่งสัญญาณบอก DDC ว่าให้เพิ่มค่าแด้มพ์ปิ้งเพื่อลดอาการหัวดิ่งและเพิ่มความมั่นคงในการเบรก ค่าแด้มพ์ปิ้งจะอยู่คงที่จนกว่ามุมเอียงจะถึง 15 องศา ซึ่งจะเป็นจุดที่ค่าแด้มพ์ปิ้งของตะเกียบหน้าจะเริ่มคลายลงด้วยล้อหน้าเริ่มแตะผิวถนนน้อยลง การยึดเกาะก็ด้วยลงด้วย แต่แน่นอนว่า DDC ที่ว่านี้คงป้องกันการลื่นล้มไม่ได้ แต่อย่างน้อยระบบการเปลี่ยนค่าแด้มพ์ปิ้งอย่างต่อเนื่องนี้จะลดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการสั่นสะเทือนอย่างกระทันหัน อันจะมีผลกับล้อหน้าและกลายเป็นการลื่นไถลแบบเต็มๆ
ระบบอิเลคทรอนิกส์ใดๆก็ตามจะทำงานได้ดีก็ขึ้นอยู่กับซอฟแวร์ที่ใช้งานอยู่ ระบบซอฟท์แวร์ของ DDC นั้นก็ถือว่าดีเยี่ยม ก็สมควรอยู่หรอกนะครับเพราะข้อกำหนดของซอฟท์แวร์ตัวนี้เป็นเอกสารขนาดความยาว 1600 หน้าเลยทีเดียว คุณจะไม่รู้สึกเลยว่าระบบ DDC กำลังทำงานอยู่เพราะระบบต่างๆทำงานอย่างรวดเร็ว คุณจะไม่รู้สึกว่าโค้งนี้โช้คแข็ง โค้งนั้นโช้คอ่อนเลย จะรู้ได้อย่างเดียวว่าทุกการเข้าโค้งนั้นสมบูรณ์แบบพอๆ กัน
กับมอเตอร์ไซค์แรงๆอย่างนี้คุณจะรู้สึกได้ว่า DDC บนล้อหลังนั้นทำงานอยู่ แม้จะบิดคันเร่งหยาบๆเพียงใดแต่ผลที่ได้คือความนุ่มนวลออกมาจากล้อทั้งสอง เพราะแรงอัดที่เพิ่มขึ้นในล้อหลังจะป้องกันไม่ให้โช้คกินเข้าไปจนสุดแล้วย้อนแรงสะท้อนไปข้างหน้า วิศวกรด้านระบบกันสะเทือนชี้แจงว่าเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะทำให้โช้คหลังยุบไปจนสุดตัว ระบบ DDC จะทำให้มอเตอร์ไซค์ BMW superbike คั้นนี้ขับได้นิ่มนวลเสมอ
แค่ระบบ DDC ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้มอเตอร์ไซค์คันนี้เป็นสุดยอด superbike แต่ BMW ไม่ได้หยุดแค่นั้น ระบบควบคุมล้อฟรีแบบปรับค่าได้ (Adjustable Traction Control) ก็ถือเป็นระบบที่สุดยอดไม่แพ้กัน ระบบ DTC ก่อนหน้านี้ปรับตั้งค่าล่วงหน้าได้ 4 ค่าเท่านั้นคือ Rain, Sport , Race และ Slick โดยสามโหมดแรกยังเป็นการตั้งแค่แบบค่าเดียว แต่โหมด Slick ตอนนี้สามารถปรับแต่งละเอียดได้ถึง 15 ค่าด้วยกัน ดังนั้นนักบิดจึงสามารถปรับแต่งค่าได้แม้ขณะขับรถอยู่ และปรับได้ง่ายๆด้วยปุ๋ม +/- ทางซ้ายมือของคันบังคับ
เริ่มต้นที่ค่า 0 ซึ่งก็จะเหมือนกับรุ่นก่อนหน้านี้ ผู้ขับขี่ก็จะสามารถเพิ่มค่าได้ 7 ขั้นเพื่อการควบคุมระบบ Traction ให้ดีขี้น หรือลดค่าลงได้ 7 ขั้น เพื่อโยนภาระการควบคุมกลับมาที่ผู้ขับขี่มากขึ้น ระบบโปรแกรม DCT นั้นจะทำงานอย่างไร้จุดสังเกตุ โดยตัวแปรควบคุมได้ถูกปรับแต่งให้ทำงานได้อย่างราบรื่นขึ้น ระบบ DTC จะทำงานเมื่อรถเอียง 25 องศาสำหรับโหมด Race และ 30 องศาในกรณีโหมด Slick และด้วยระบบ Race ABS ที่ยอดเยี่ยมทำให้ความรู้สึกว่าระบบอิเลคทรอนิคส์มาควบคุมการขับขี่ของเรานั้นแทบไม่มีเลย มอเตอร์ไซค์คันนี้คงนับได้ว่ามีความเป็นดิจิตัลมากที่สุดแต่ให้ความรู้สึกแบบอนาลอกสุดๆ
หากไม่มองถึงระบบอิเลคทรอนิกส์ที่ล้ำหน้าแล้ว HP4 ก็เหมือนกับรุ่น S1000RR ดีๆนี่เอง ความแรงขนาด 193 แรงม้า จากเครื่องสี่สูบที่ต่ำกว่า 1 ลิตร ทำให้คุณต้องชื่นชมกับระบบ DTC ทุกครั้งที่บิดคันเร่งเลยทีเดียว แชซซีรถได้รับการปรับปรุงเมื่อปีที่แล้วให้สั้นลงมา และด้วยมาตรส่วนทางการบังคับเลี้ยวที่ดุดันขึ้น และจุดศูนย์ถ่วงที่สูงขึ้น ทำให้การเข้าโค้งทำได้ดีและลดการยุบตัวกรณีชลอรถได้มาก การขับขี่ทำได้ดีกว่าเดิมมากด้วยล้ออลูมิเนียมที่ลดน้ำหนักลงได้ 5.3 ปอนด์และยางหลังที่หน้ากว้างขึ้นขนาด 200/55
ผลลัพธ์โดยรวมถือว่ายอดเยียม แม้ว่าหลายคนอาจจะถกเถียงว่าระบบอิเลคทรอนิคส์ต่างๆนั้นจะทำให้การขับขี่ดีขึ้นหรือไม่ แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่านักบิดหลายคนสามารถขับได้เร็วขึ้นด้วยความพยายามที่น้อยลงบนมอเตอร์ไซค์ HP4 คันนี้
ในข่วงสุดท้ายของการทดสอบบนสนามแข่ง นักแข่งเจ้าของแช้มป์คนหนึ่งเข้าโค้งสุดท้ายใกล้ๆผม ด้วยล้อหลังที่ชี้โด่ง แม้ว่าผมอาจจะไม่มีความสามารถทำอะไรได้แบบเขาในการเข้าโค้ง แต่ด้วยระบบอัฉริยะ DTC และ DDC นั้นก็ทำให้ผมตะบึงออกจากโค้งด้วยความเร็วและความนิ่มนวลที่ผมไม่เคยเจอะเจอมาก่อน ทำให้ผมขับแข่งกับแช้มป์อย่างเขาเหมือนเงาติดๆกันตรงทางตรงด้านหน้าอย่างมันส์หยด
นั่นแหละครับสำหรับมอเตอร์ไซค์ BMW HP4 ที่มันสามารถทำให้ใครก็ได้กลายเป็นฮีโร่ไปได้พริบตา หากไม่เชื่อลองไปหา HP4 มาขับเข้าโค้งแรงๆซักทีแล้วคุณจะรู้ว่าผมหมายความว่าไง
HP4 Spec อย่างย่อ
Engine type | l-c inline-four |
Valve train | DOHC, 16v |
Displacement | 999cc |
Bore x stroke | 80.0 x 49.7mm |
Compression | 13.0:1 |
Fuel system | EFI |
Clutch | Wet, multi-plate slipper |
Transmission | 6-speed |
Claimed horsepower | 193 bhp @ 13,000 rpm |
Claimed torque | 83 lb.-ft. @ 9750 rpm |
Frame | Aluminum twin-spar |
Front suspension | Sachs 46mm fork with adjustable spring preload, dynamic compression and rebound damping |
Rear suspension | Sachs shock with adjustable spring preload, dynamic compression and rebound damping |
Front brake | Dual Brembo Monobloc four-piston calipers, 320mm discs with Race ABS |
Rear brake | Brembo single-piston caliper, 220mm disc with Race ABS |
Front tire | 120/70ZR-17 Pirelli Diablo Super Corsa SP |
Rear tire | 200/55ZR-17 Pirelli Diablo Super Corsa SP |
Rake/trail | 24.0°/3.9 in. |
Seat height | 32.3 in. |
Wheelbase | 56.0 in. |
Fuel capacity | 4.6 gal. |
Claimed curb weight | 439 lbs. |
เรียบเรียงจาก Motorcyclistonline.com
ads2